ข้อผิดพลาด 1  

ไม่เข้าใจว่าจักยานออกกำลังกาย

มีกี่ระบบ และต่างกันยังไง

จักรยานออกกำลังกาย-pantip-ข้อผิดพลาด-1

หลายๆคนที่คิดว่าจะซื้อจักรยานออกกำลังกายครั้งแรกคงจะมึนงงกันพอสมควรเลยว่า จักรยานออกกำลังกายนั้นมีกี่ระบบ กี่แบบ แบบโซ่ แบบสายพาน แบบแม่เหล็ก มันคืออะไร แล้วแต่ละระบบมันต่างกันยังไง เราขออธิบายแบบนี้ครับ

มันมีอยู่ 2 สิ่งที่คุณควรจะต้องรู้ ก่อนเลือกซื้อจักรยานออกกำลังกาย ไม่ว่าจากร้านไหนก็ตาม อย่างแรก 

1.คุณจะต้องรู้ว่าจักรยานตัวนั้น ใช้ระบบอะไรทำให้ล้อหมุน 

2.จักรยานตัวนั้น ใช้ระบบอะไรเป็นตัวสร้างความหนืดในการปั่น 

เราต้องแยกให้ออกก่อนครับว่า ในจักรยาน 1 คันจะประกอบไปด้วย 2 ระบบ



(1) ระบบที่ทำให้ล้อหมุน จะมีอยู่แค่สองแบบคือ แบบโซ่ และ แบบสายพาน (ตามรูปข้างล่าง) แต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ระบบโซ่ เป็นระบบที่เก่ากว่า

ข้อเสียก็คือจะมีเสียงที่ดังเวลาปั่น และฟีลลิ่งจะไม่นุ่มนวล เพราะโซ่นั้นไม่เรียบ

ส่วนระบบสายพาน จะมีข้อดีก็คือเสียงเงียบ และเวลาปั่นจะรู้สึกนุ่มนวลกว่า และเป็นระบบใหม่ล่าสุดของจักรยานออกกำลังกายตอนนี้

จักรยานออกกำลังกาย วิธีเลือกซื้อ-5

(2) ระบบที่สร้างความหนืด ก็มีอยู่สองแบบเช่นกัน แบบที่ 1 คือการใช้ผ้าเบรค เป็นตัวเสียดสีกับล้อเพื่อให้เกิดความรู้สึกหนักเวลาปั่น (นึกภาพถึงจักรยานธรรมดาเวลาเราบีบเบรค)

ระบบผ้าเบรคจะมีให้เห็นอยู่ในจักรยานที่ขายตามร้านทั่วไป ข้อเสียก็คือเสียงที่ไม่เงียบสนิท ซึ่งเกิดจากที่ผ้าเบรคถูอยู่กับล้อ

แบบที่ 2 คือใช้แม่เหล็ก เป็นตัวสร้างความหนืด ซึ่งมาจากสนามแม่เหล็กระหว่างตัวระบบ และล้อ  ระบบแม่เหล็กจะเป็นระบบที่ใหม่ขึ้นมาหน่อย

ข้อดีก็คือไม่มีเสียงรบกวนเวลาปั่นเลย เรียกได้ว่าเงียบสนิท เพราะไม่มีการเสียดสีของล้อเหมือนระบบผ้าเบรค นอกจากนั้นระบบแม่เหล็กยังให้ฟีลลิ่งที่นุ่มนวลกว่า และไม่ต้องมีการบำรุงรักษาเปลี่ยนผ้าเบรคเวลาใช้ไปนานๆอีกด้วย

หากมองแต่ดีไซน์อย่างเดียวก็จะมองไม่ออก ให้คุณถามร้านค้าว่าจักรยานตัวนั้น (1)ใช้ระบบอะไรเป็นตัวทำให้ล้อหมุน และ (2) ระบบอะไรเป็นตัวสร้างความหนืด  ทาง EnjoyCycle ได้ทำวีดีโอทดสอบจักรยานทุกระบบให้ดู

กดดูวีดีโออธิบายความแตกต่าง

  ข้อผิดพลาด 2  

ไม่ได้ถามให้แน่ชัดว่า ระบบผ้าเบรค

เป็นแบบหนังวัว หรือ สักหลาด

จักรยานออกกำลังกาย-enjoy-13

ผ้าเบรค คือระบบสร้างความหนืด แต่น้อยคนจะรู้ว่า ผ้าเบรคมีสองเกรด (1) เกรดที่ด้อยกว่า ทำจากผ้าสักหลาด (2) เกรดที่ดีกว่า ทำจากหนังวัว สองระบบนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นผ้าเบรคเหมือนกัน แต่ความรู้สึกเวลาปั่นจะต่างกันอย่างสิ้นเชิง จักรยานออกกำลังกายส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะใช้ ผ้าเบรคสักหลาด กันเกือบทั้งหมด เพราะเป็นวัสดุที่มีราคาถูก รูปข้างล่างคือรูปเปรียบเทียบผ้าเบรคทั้งสองแบบ

วิธีสังเกตุที่ง่ายที่สุดเลย ก็คือ ผ้าเบรค สักหลาด จะมีสีขาว ส่วนผ้าเบรคหนังวัว จะมีสี น้ำตาล-ดำ (1) ข้อเสียของผ้าเบรคสักหลาด ก็คือใช้ได้ไม่นาน และต้องเปลี่ยนบ่อย หากคุณเป็นคนชอบปั่นหนัก ผ้าเบรคสักหลาดจะหมดเร็วมาก (2) ส่วนข้อดีของ ผ้าเบรคหนังวัว ก็คือ มีอายุการใช้งานที่นานมาก ใช้ได้มากกว่า 30,000 ครั้ง ไม่ต้องเปลี่ยนให้ยุ่งยาก และยังนุ่ม และเงียบกว่า ผ้าเบรค สักหลาด

จักรยานออกกำลังกาย-enjoy-11

EnjoyCycle ได้ทำวีดีโอสาธิต ความแตกต่าง ระหว่าง ผ้าเบรคหนังวัว และ ผ้าเบรคสักหลาด ให้ดูกันทุกมุม ไม่ว่าจะเป็นด้านความเงียบ ด้านความนุ่ม และด้านความทนทาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มือใหม่หลายคนลืมนึกถึง

กดดูวีดีโออธิบายความแตกต่าง

  ข้อผิดพลาด 3  

เลือกซื้อจักรยานที่ราคาอย่างเดียว

จากผู้ขายที่ไม่ใช่ร้านจักรยาน

จักรยานออกกำลังกาย วิธีเลือกซื้อ-2

ไม่มีใครอยากซื้อของแพง แต่บางครั้งอะไรที่ถูกมากๆเราก็ต้องระวัง เพราะว่าจักรยานออกกำลังกายไม่ใช่สินค้าที่ซื้อโดยไม่ต้องคิดเลย ข้อผิดพลาดนี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่เราซื้อโดยตัดสินใจจากราคาอย่างเดียว เช่นจากเว็ป Lazada เป็นต้น

การซื้อจากร้านนิรนาม โดยที่ไม่ได้คุยกับคนขายเลย จะมีความเสี่ยงที่จะได้สินค้าไม่ตรงกับรูป (เพราะส่วนใหญ่รูปที่เห็นไม่ใช่รูปถ่ายจากสินค้าจริง) และไม่ได้การรับประกันตามที่ระบุไว้ การซื้อจักรยานควรจะซื้อจากร้านที่เน้นขายจักรยานจริงๆ ไม่ใช่ซื้อจากร้านขายของนิรนามที่ขายของหลายๆชนิดครับ 

  ข้อผิดพลาด 4  

เลือกซื้อจักรยานจากในห้าง

ที่มีราคาสูงเกินคุณภาพ

จักรยานออกกำลังกาย-pantip-ข้อผิดพลาด-3

ข้อดีของการซื้อของในห้างนั้นคือความสะดวกสบาย แต่ข้อเสียก็คือคุณจะต้องจ่ายราคาที่แพงเกินความจำเป็น เพราะว่าการที่ร้านค้านำจักรยานไปขายที่ห้างนั้น ร้านจะต้องเสีย % ให้กับห้างเป็นจำนวนมาก ซึ่ง % นั้นทางร้านค้าไม่ได้เป็นคนรับไว้ แต่ภาระจะตกมาที่ผู้ซื้อ ในรูปแบบที่ราคาขายแพงขึ้น

โดยปกติแล้วหากคุณซื้อเครื่องออกกำลังกายจากในห้าง คุณจะจ่ายแพงขึ้น 30% เพราะว่าห้างจะเก็บร้านค้าในหมวดหมู่เครื่องออกกำลังกายอยู่ที่ประมาณนี้ การทำห้างนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟ ค่าแอร์ ค่าเช่าที่ ค่าพนักงาน การที่ห้างจะทำกำไรได้นั้น ก็จำเป็นต้องเก็บ % กับร้านค้าที่สูงครับ 

ตัวอย่างข้างล่างแสดงถึงส่วนต่างของราคา หากคุณซื้อจักรยานจากห้าง เทียบกับการซื้อแบบตรงไม่ผ่านตัวแทน สรุปก็คือหากคุณสามารถซื้อโดยไม่ผ่านตัวแทนก็จะสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าได้ และได้สเปคเครื่องที่ดีกว่าครับ

  ข้อผิดพลาด 5  

เลือกซื้อจักรยานที่แพงเกินไป

ไม่เหมาะสมกับจุดประสงค์การใช้งาน

จักรยานออกกำลังกาย-pantip-ข้อผิดพลาด-4

ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อย ก็คือเลือกซื้อจักรยานเกินความต้องการ และจ่ายแพงเกินความต้องการของตัวเอง เช่นถ้าความต้องการของเราคือปั่นออกกำลังกายสำหรับในบ้าน ไว้ใช้เป็นเครื่องออกกำลังกายของครอบครัว จักรยานคันละไม่ถึง 10,000บาท ก็เพียงพอต่อความต้องการสำหรับปั่นที่บ้านแล้ว

ข้อควรระวังก็คือบางทีคนขายจะแนะนำให้เราซื้อตัวแพงๆ เพราะยิ่งแพงก็จะได้ยอดเยอะ แต่จริงๆแล้วมันเกินความจำเป็นในการใช้งาน 

ดูตารางข้างล่างเพื่อดูราคาจักรยานและความต้องการแต่ละแบบ (ราคาที่แนะนำเป็นการซื้อตรง โดยไม่ผ่านตัวแทน)

  ข้อผิดพลาด 6  

ไม่ได้สอบถามให้ชัดเจนว่าจักรยานตัวนั้น

มีฟังก์ชั่นอะไรบ้าง และใช้งานยังไง

ข้อผิดพลาดที่ 6 ที่พบบ่อยก็คือ ไม่ได้สอบถามร้านค้าให้ชัดเจนว่าจักรยานตัวนั้นมีฟังก์ชั่นการใช้งานอะไรบ้าง จักรยานแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะมีฟังกชั่นที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วจะมีอยู่ที่ประมาณ 5 – 7 ฟังก์ชั่น ยิ่งมีเยอะยิ่งดี 

ตัวอย่างข้างล่างเป็นรูปตัวอย่างจักรยานที่มี ฟังก์ชั่น 5 – 7 ฟังชั่น

จักรยานออกกำลังกาย-pantip-ข้อผิดพลาด-5.1

ฟังก์ชั่นที่พบบ่อย 5 ฟังก์ชั่นจะมีดังนี้:  1.วัดแคลอรี่ / 2.วัดระะยะทาง / 3.วัดความเร็ว / 4.วัดเวลาปั่น /  5.วัดระยะสะสม

ส่วนสำหรับ 6 ฟังก์ชั่นจะมีตัว วัดชีพจรการเต้นของหัวใจเพิ่มเข้ามา ซึ่งสำคัญมาก

ฟังก์ชั่นที่ไม่ค่อยเห็นกันซักเท่าไหร่ในจักรยานสำหรับใช้ที่บ้าน ก็คือฟังก์ชั่นที่ 7 “จังหวะในการปั่น” ฟังก์ชั่นนี้จะมีหน้าที่คอยวัดรอบขาของเราเพื่อช่วยให้เรารักษาจังหวะการปั่นให้คงที่ ก่อนซื้อจักรยานแต่ละรุ่นควรสอบถามเรื่องฟังก์ชั่นการใช้งานให้ละเอียดก่อนครับ

  ข้อผิดพลาด 7  

เลือกซื้อจักรยานจาก ดีไซน์อย่างเดียว

โดยไม่ได้ดูความง่ายในการใช้งาน

ดีไซน์เป็นส่วนสำคัญในการเลือกซื้อ แต่อย่าตัดสินใจซื้อเพียงแค่ดูแต่ดีไซน์อย่างเดียว ต้องคำนึงถึงการใช้งานที่ง่ายด้วย 

ดูตัวอย่างที่รูปข้างล่าง เป็นจักรยานที่ทรงสวย แต่การใช้งานจริงนั้นค่อนข้างลำบาก เพราะว่ามีระยะก้าวขึ้นที่สูง หากเราแบ่งกันใช้ในครอบครัวยิ่งต้องดูให้ดี เพราะคนอื่นอาจจะใช้ไม่ได้

สำรับจักรยานที่ใช้ง่ายควรจะมีดีไซน์ที่เป็นทรงตัว V เพราะจะมีระยะก้าวขึ้นที่ต่ำ และง่ายต่อการใช้งาน 

ตัวอย่างข้างล่างคือจักรยานรูปทรงตัว V

  ข้อผิดพลาด 8  

เลือกซื้อจักรยาน จากร้านค้าออนไลน์

ที่ไม่ใช่บริษัท และไม่มีศูนย์บริการ

ข้อนี้สำคัญมากครับ การซื้อจักรยานออกกำลังกาย ต้องซื้อกับร้านที่ มีหน้าร้านและศูนย์บริการหลังการขายเท่านั้น 

ยิ่งตอนนี้การค้าขายออนไลน์เริ่มมีบทบาทมากขึ้นทำให้มี คนขายนิรนามที่ไม่มีหน้าร้านและไม่ใช่ร้านจักรยานมาทำการค้าในเน็ตกันมากขึ้น และส่วนมากลูกค้าจะโดนโน้มน้าวด้วยราคาที่ถูก ทำให้ลืมเช็คดูว่าร้านนั้นไม่มีหน้าร้านและไม่ใช่ร้านขายจักรยาน แต่เป็นเพียง พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ (อันตรายมาก)

เรื่องนี้สำคัญมากเพราะว่าจักรยานเราต้องปั่นกันนานหลายปีเลยทีเดียว คุณควรซื้อกับบริษัทจัดจำหน่าย ไม่ใช้พ่อค้าออนไลน์ ควรจะมีร้านที่รองรับ และช่วยดูแลหลังการขายได้

  ข้อผิดพลาด 9  

เลือกซื้อจักรยานจากร้าน ที่มีหลายรุ่นเกินไป

และไม่ได้มีใบรับประกันให้

ข้อผิดพลาดนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แล้วต้องระวังหากเราเจอร้านที่มีจักรยานที่มีหลายรุ่น หลายยี่ห้อให้เราเลือกมากจนเกินไป

หากร้านนั้นมีให้เลือกหลายรุ่น เป็น 10-20 รุ่น มันคงยากมากที่จะเก็บอะไหล่ของทุกรุ่นไว้คอยบริการลูกค้า เพราะจักรยานตัวนึงมีส่วนประกอบค่อนข้างเยอะ และยิ่งร้านที่มีรุ่นเยอะยิ่งเป็นสัญญาณที่บอกเราว่าร้านนั้นเปลี่ยนรุ่นที่ขายบ่อย เพราะฉะนั้นรุ่นที่เราเพิ่งซื้อเดือนนี้ ทางร้านอาจจะเลิกขายได้ในเดือนถัดไป และไม่มีอะไหล่เก็บไว้คอยบริการเรา

จักรยานออกกำลังกาย-pantip-ข้อผิดพลาด-8.1

จักรยานที่เราซื้อมานั้น เราต้องการปั่นกันเป็นหลายปี เพราะฉะนั้นเราควรมองหาร้านที่มีสินค้าที่ไม่เยอะรุ่นและยี่ห้อจนเกินไป เพื่อบริการหลังการขาย และอะไหล่ที่ครบ 

หลายๆครั้งลูกค้าจะชอบลืมถามเรื่องการรับประกัน และไม่ได้ศึกษาเงื่อนไขการรับประกันให้ละเอีย เหตุผลที่เป็นแบบนี้่ก็เพราะว่า กว่าจะซื้อจักรยานได้แต่ละคัน ต้องทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเครื่องค่อนข้างมาก ทำให้ลืมนึกถึงเรื่องการรับประกันไป ซึ่งสำคัญมากๆ

เรื่องของรับประกันควรจะแยกออกเป็น 2 เรื่อง เรื่องแรกก็คือเงื่อนไขการรับประกันในระยะเวลาประกัน และสอง คือเงื่อนไขการให้บริการหลังระยะเวลาประกัน..  

ร้านจักรยานส่วนมากจะรับประกันสินค้าให้อยู่ที่ 1 ปี ครับ ยังไงก็ควรสอบถามร้านนั้นให้ละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อนะครับ

และนี้ก็คือ 9 ข้อผิดพลาดที่ทาง EnjoyCycle ได้พบมาจากการพูดคุยกับลูกค้าจำนวนมาก ทางEnjoyCycle หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ ทำให้คุณมีข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อที่มากขึ้น

หากคุณมีคำถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับการเลือกซื้อจักรยานออกกำลังกาย เรายินดีให้คำปรึกษา